วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การสร้าง Blogger (2)

การสร้าง Blogger (2)

            ส่วนของการสร้างบทความให้เข้าไปที่ "การส่งบทความ" หัวข้อ "สร้าง" ให้เพื่อนๆทำความเข้าใจเมนูและเครื่องมือต่างๆ ของการสร้างบทความใน Blogger เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

ความเข้าใจเบื้องต้นในการสร้างบทความ

การสร้างบทความใช้พื้นฐาน Microsoft word คือเขียนอย่างไรก็จะออกมาอย่างนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
  1. ส่วนของ "เขียน"
    ในส่วนนี้จะเหมือน Microsoft Word เกือบทุกๆอย่าง อยากเขียนอะไร อยากใช้ตัวหนา ตัวเอียง การใส่ Link เพียงแค่คลิ๊กเมนูการใช้งานด้านบน มีข้อเสียคือ เวลา Copy อะไรก็ตามแล้วนำมา Paste ลงในนี้ ลักษณะของของตัวอักษรจะเหมือนกับต้นแบบที่ Copy มาทุกอย่างครับ
  2. ส่วนของ "HTML"
  3. ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้ เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร แต่ไม่ได้ยากเท่าไรครับ ข้อดีคือ สามารถปรับตามความต้องการของเราได้ทุกอย่าง เมื่อ Copy อะไรมาวาง ลักษณะตัวอักษรจะถูกปรับเป็นตัวอักษรปกติของบล๊อกเราครับ
ข้อสังเกตุ:
การ Copy อะไรมาวางถ้าไม่อยากให้ลักษณะผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามรูปแบบที่สวยงาม ให้้ Copy แล้วทำมา Paste ในส่วนของ HTML ครับ ข้อความทั้งหมด จะถูกปรับให้การแสดงผลเป็นค่าปกติของบล๊อกเรา ไม่ใช่ตามลักษณะต้นแบบที่เรา Copy มาครับ

เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างบทความ

Blogger มีเครื่องมือต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเขียบบทความได้ตามรูปแบบที่ตั้งใจ ดูตามดังรูปเลยครับ

  1. แบบอักษร สามารถเลือกตัวอักษรได้ตามต้องการ
  2. ปรับขนาดตัวอักษร ปรับขนาดความใหญ่หรือเล็กลง
  3. ตัวหนา
  4. ตัวเอียง
  5. สีของตัวอักษร
  6. ทำ Link ให้ข้อความ เราสามารถสร้าง Link ให้ข้อความได้โดยการ คลิ๊กคลอบข้อความที่เราต้องการแล้วกดที่เมนูนี้ ระบบจะให้ทำการใส่ URL (ที่อยู่ของ Link เช่น www.snook.com) เมื่อคลิ๊กที่ข้อความจะถูกส่งไปยังหน้าเว็บที่เราใส่ Link เข้าไป
  7. ทำบทความให้ชิดซ้าย
  8. ทำบทความให้อยู่กึ่งกลาง
  9. ทำบทความให้ชิดขวา
  10. ทำบทความให้ชิดทั้งขอบซ้ายและขวา
  11. ทำรายการเรียงลำดับเป็นตตัวเลข
  12. ทำรายการเรีนงลำดับเป็นจุด
  13. ใส่ "," ให้กับข้อความที่ต้องการเน้นคำพูด
  14. เพิ่มรูปภาพลงในบทความของเรา ระบบจะให้เราอัพโหลดไฟล์รูปภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา สามารถปรับขนาดและจัดรูปแบบให้อยู่ ซ้าย,กลาง,ขวา ได้
  15. เพิ่ม Video เข้าไปในบทความของเราเช่นเดียวกับรูปภาพครับ
  16. ส่วนนี้เป็นการลบข้อความที่เราเขียนผิดพลาด ในส่วนนี้ไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร หรือไม่ได้ใช้เลยก็ได้
  17. แก้ไข HTML ส่วนนี้ต้องใช้ความรู้พอสมควรในการปรับแต่เนื้อหาหรือบทความที่เราเขียนให้ เป็นไปตามที่เราตั้งใจ ซึ้งต้องใช้ความรู้ภาษา HTML พอสมควร
  18. หน้าที่ใช้เขียนบทความเหมือนการใช้งาน Microsoft Word
  19. แสดงตัวอย่างที่เราเขียนบทความ
  20. การใส่หัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง "การตกแต่งบ้างโดยใช้ต้นไม้ประดับ" หัวข้อก็คือ การตกแต่งบ้าน (บ่งบอกให้รู้ว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร)
  21. ทำการเผยแพร่บทความทันที บทความจะแสดงหน้าบล๊อกของเราทันที่ที่เราเผยแพร่
  22. บันทึก เป็นการบันทึกบทความไว้ก่อน จะยังไม่แสดงในหน้าบล๊อกของเรา เหมือนการร่างบทความ เราสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนทีหลังได้ใน "การแก้ไขบทความ"
การเขียนบทความที่ดี
  • เขียนสั้นๆได้ใจความ
  • อย่าทำให้ผู้อ่านลายตา
  • ใช้ประโยคเป็นกันเอง เหมือนเล่าเรื่อง (แล้วแต่เนื้อหาบทความ)
  • ชื่อเรื่องน่าอ่าน
  • มีสไตล์เป็นของตัวเอง
  • ทบทวนเรื่องราว เช่นเขียนดูไหม อ่านแล้วเป็นยังไง สะกดผิด เขียนผิดหรือปล่าว
               การ แก้ไขบทความของ Blogger มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก อยากจะแก้บทความไหน ก็แก้ในบทความนั้น อยากจะใช้ป้ายกำกับอะไรให้บทความ ก็สร้างป้ายกำกับ และกดตั้งค่าป้ายกำกับ สามารถลบบทความ ลบป้ายกำกับ ดูรายละเอียดการสร้างบทความ เช่น บทความเผยแพร่เวลาเท่าไร ใครเป็นผู้เขียนบทความนั้น เรามาดูเมนูควบคุมต่างๆ ของการแก้ไขบทความกันเลย

  1. การใช้งานป้ายกำกับ เราสามารถ ลบ เพิ่ม และเปลี่ยนป้ายกำกับให้บทความเราได้ โดยการติ๊กช่องหน้าบทความครับ
  2. ช่องค้นหา สามารถค้าหาบทความโดยใส่ Keyword ลงไปครับ
  3. ช่องแก้ไข และ ชื่อบทความหรือหัวข้อใหญ่ของบทความ ในการแก้ไข เพิ่มป้ายกำกับให้บทความ ลบบทความ เราสามารถติ๊กถูกในช่องหน้าแก้ไข จะสามารถแก้ไขได้พร้อมๆกันครับ
  4. ร่างและวางกำหนดการแสดงของบทความ
  5. บทความที่นำเข้ามาจากบล๊อกอื่น
  6. บทความที่เผยแพร่แล้ว
  7. บทความต่อหน้า จะให้หน้านี้แสดงบทความทั้งหมดกี่บทความ
  8. ลบบทความ
  9. ชื่อคนเขียนบทความ
  10. บทความได้เผยแพร่เวลาเท่าไร
  11. รายชื่อป้ายกำกับทั้งหมด ในส่วนของ () คือจำนวนบทความที่อยู่ในป้ายกำกับนั้น
  12. เผยแพร่บทความ (ที่เราติ๊กถูกหน้าบทความ) ใช้สำหรับบทความที่ร่างไว้
  13. ลบรายการที่เลือก (ที่ติ๊กถูกหน้าบทความ)
  14. สร้างบทความใหม่
  15. ชื่อของป้ายกำกับประจำบทความ
            การปรับค่าการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ของ Blogger สามารถแก้ไขในเมนู "การตั้งค่า " ไม่ว่าจะเป็นชื่อบล๊อก, Url ของบล๊อก, ภาษาของบล๊อก, การจัดการคลังบทความ ซึ่งมีการใช้งานในส่วนต่างๆ ไม่ได้ยากเย็นนัก เรามาดู การตั้งค่า (Settings) ของ Blogger ว่ามีอะไรบ้าง

  1. อ่านต่อ เรื่องขั้นต้น (Basic Setting)
    เป็นการตั้งค่าในส่วนของพื้นฐานเช่น หัวข้อ (title) คำอธิบาย (Description) และอื่นๆ ของ Blogger
  2. อ่านต่อ เรื่องการเผยแพร่ (Publishing Setting)
    การแก้ไข Url หรือชื่อของบล๊อก เช่น www.ชื่อบล๊อก.blogspot.com
  3. อ่านต่อ เรื่องการจัดรูปแบบ (Formatting Setting)
    แก้ไขรูปแบบของบทความ เช่น เวลา ภาษา รูปแบบวันที่
  4. อ่านต่อ เรื่องข้อคิดเห็น(Comments Setting)
    การตั้งค่าจัดการความคิดเห็น (Comment) ของ Blogger
  5. อ่านต่อ เรื่องเก็บเข้าคลังบทความ (Archiving Setting)
    การจัดการคลังบทความและการแสดงผลของบทความในหน้าบล๊อก
  6. อ่านต่อ เรื่องฟีดของไซต์ (Site Feed Setting)
    ตั้งค่าการส่งเนื้อหาแบบ RSS Feed
  7. อ่านต่อ เรื่องอีเมลและมือถือ (Email Mobile Setting)
    การส่งบทความผ่าน E-mail และะมือถือ
  8. อ่านต่อ เรื่องOpenID (Open ID Setting)
    ชื่อบล๊อกของคุณและ ID การใช้งาน
  9. อ่านต่อ เรื่องสิทธิ์ (Permissions Setting)
    สิทธิของผู้ใช้งาน ในส่วนผู้เขียนและผู้อ่าน
                การตั้งค่ารูปแบบ เปรียบเหมือนการเปลี่ยนแปลงของหน้าบล๊อกเราที่จะแสดงต่อสายตาคนทั่วโลก การจัดวาวงรูปแบบเนื้อหาข้อมูลของบล๊อกเป็นส่วนสำคัญไม่น้อยที่จะทำให้ผู้คน เข้ามาแล้วติดใจ หน้าบล๊อกดูสะอาดตา มีเมนูการใช้งานต่างๆ ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อนๆคงไม่อยากอ่านบทความต่างๆของบล๊อกที่รก หาอะไรก็ไม่เจอ ดูวุ่นวายไปหมด ในส่วนนี้ Blogger จัดไว้ให้สามารถปรับแต่งได้ง่ายดายมากครับ ไม่ต้องไปเขียนโค้ด Html, php ก็สามารถสร้างบล๊อกหน้าตาเหมือน บี้เดอะสตาร์ หรือ พอลล่า ได้อย่างง่ายดาย เรามาดูการตั้งค่ารูปแบบเลยครับว่ามีอะไรบ้าง
ในส่วนของตั้งค่ารูปแบบ จะอยู่ในเมนู "รูปแบบ" ประกอบด้วยเมนูย่อย 4 อย่างดังรูป

เมนูต่างๆ ในเมนู "รูปแบบ"
หายังไม่เข้าใจเรื่องที่ผ่านมาเกี่ยวกับการตั้งค่าเบื่องต้น สามารถกลับไปอ่านได้ครับ อ่านเรื่อง การตั้งค่า (Setting) เพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget แต่ละตัว ว่ามีหน้าที่ยีงไงได้ที่ หน้ารวม Gadget
          Gadget คือเครื่องมือต่างๆ ที่ Blogger ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มลงไปในบล๊อก เป็นเครื่องมือสำเร็จรูปใช้การง่าย สะดวกรวดเร็ว อย่างเช่นการทำ Link เพื่อมาใช้เป็นเมนู เราก็สามารถเพิ่ม Gadget ที่ชื่อว่า "รายชื่อลิงก์ (Link List)" และสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งในหน้า องค์ประกอบของหน้า ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก เพื่อเพื่อนๆรู้จักคุณสมบัติต่างๆ ของ Gadget แต่ละตัวแล้ว จะสามารถสร้างบล๊อกที่โดนใจผู้อ่านได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในเนื้อหานี้ เพื่อนๆ จะทราบว่า Gadget แต่ละตัวคืออะไร มีการตั้งค่าและใชช้งานยังไง เราไปดูกันเลยครับว่ามีอะไรบ้าง
เพื่อนๆสามารถคลิ๊กที่ "อ่าน...การตั้งค่าการใช้งาน" จะส่งเพื่อนๆไปยังรายละเอียดเกี่ยวกับ Gadget ตัวนั้นครับ

ผู้ติดตาม (Followers) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
HTML/JavaScript อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
ข้อความ (Text) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
รูปภาพ (Picture) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
สไลด์โชว์ (Slideshow) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
แถบวีดีโอ (Video Bar) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
แบบสำรวจ (Poll) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
รายการบล๊อก (Blog List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
รายชื่อลิงก์ (Link List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
รายการ (List) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
ฟีด (Feed) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
Newsreel อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
ป้ายกำกับ (Labels) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
ลิงก์การสมัคร (Subscription Links) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
โลโก้ (Logo) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
โปรไฟล์ (Profile) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
คลังบทความของบล๊อก (Blog Archive) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน
ส่วนหัวของหน้า (Page Header) อ่าน...การตั้งค่าใช้งาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น